เริ่มจากการสร้าง Folders ขึ้นมาตั้งชื่อว่า Surface เพื่อเก็บไฟล์ข้อมูลที่เราสร้างไว้
การสร้างเส้น Contours ในตัวโปรแกรมมีรูปแบบในการสร้าง 2 วิธี
วิธีที่ 1 เป็นการคลิกแล้วจะสร้างทีละเส้น คลิกทีละครั้ง ได้เส้นContoursทีละเส้น เอาเครื่องมือออกมา โดยเมื่อเปิดข้อมูล Idw2 จาก Folder Inter ที่เคยสร้างไว้ ขึ้นมา จะปรากฏดังภาพ
จากนั้นทำการเปลี่ยนสีและนำกล่องเครื่องมือ 3D Analyst ออกมา โดยคลิกที่ Customize >> Toolbars >> 3D Analyst
จากนั้นเลือกใช้คำสั่ง Create Contours เมาส์จะมีเส้น Contours ติดมาด้วย ต้องการสร้างเส้น Contour บริเวณไหน คลิกลงไปได้เลยวิธีที่ 1 เป็นการคลิกแล้วจะสร้างทีละเส้น คลิกทีละครั้ง ได้เส้นContoursทีละเส้น เอาเครื่องมือออกมา โดยเมื่อเปิดข้อมูล Idw2 จาก Folder Inter ที่เคยสร้างไว้ ขึ้นมา จะปรากฏดังภาพ
จากนั้นทำการเปลี่ยนสีและนำกล่องเครื่องมือ 3D Analyst ออกมา โดยคลิกที่ Customize >> Toolbars >> 3D Analyst
วิธีนี้จะเสียเวลาเพราะคลิกทีละครั้ง การลบ กดที่ลูกศร คลุมไว้ แล้วกด Delete
วิธีที่ 2 เปิด ArcToolboxจากนั้นไปที่ ToolBox ที่ชื่อว่า 3D Analyst Tools จากนั้นไป raster surface และจะเจอคำสั่งที่ชื่อ contour ดับเบิ้ลคลิกมาได้เลย
ซึ่งวิธีนี้สามารถทำทั่วทั้งพื้นที่ได้ในครั้งเดียว ต้องการให้ทำกี่เมตร กำหนดได้เลย ช่อง Input raster ใช้ข้อมูล idw2
ไปเก็บไฟล์ข้อมูลไว้ที่โฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้แต่แรก ตั้งชื่อว่า Contour
ค่าที่ 3 ที่ต้อง set contour interval ค่าความต่างของเส้นContour ต้องการความละเอียดมาก ๆ 10,20,100 ในทีนี้กำหนดห่างเส้นละ 100คลิก ปรับค่าเรียบร้อยแล้ว OK
ผลลัพธ์จากการการสร้างเส้นชั้นความสูง
ใส่ Label ด้วย แต่ละเส้นความสูงเท่าไหร่ คลิกขวาที่ Contour เลือก property แล้วเลือก Label
ช่อง Label Field เลือก Contourและทำการเปลี่ยน Font เปลี่ยนขนาดและเปลี่ยนสี
จากนั้นทำการเปลี่ยนสีให้กับเส้นContour โดยไปที่ Symbology เลือก Categories >> Unique Values ช่อง Values Field เลือก Contour จากนั้นกด Add All Values แล้วกด OK
ค่าที่ได้จะดังภาพ
การวิเคราะห์แนวการมองเห็น Line of sight
เป็นการวิเคราะห์การมองจากจุดจุดหนึ่ง ถ้าสมมุติมองจากจุด ๆ หนึ่งไปยังเป้าหมาย ในการวิเคราะห์เส้นสีเขียวสามารถมองได้จากจุดสังเกต สีแดงไม่สามารถมองเห็นได้จากจุดสังเกต ประโยชน์ในการที่จะสร้างหอคอย หอสื่อสาร หรือกำหนดที่ตั้งกองกำลังทหาร ดูว่าถ้าสร้างจุดนี้สามารถมองเห็นได้ไหมจากจุดสังเกต บริเวณควรมองเห็นพื้นที่โดยรอบ บริเวณนั้นถึงจะเป็นพื้นที่เหมาะสม
โดยไปเอาคำสั่ง Create Line of sight ออกมา
จากนั้น คลิกจุดที่ต้องการทราบ (ต้นทาง) เเละคลิกจุดสุดท้าย (ปลายทาง) จากนั้นจะปรากฏเส้นตรงขึ้นมา ส่วนที่เป็นสีเเดงหมายถึงไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนที่เป็นสีเขียวหมายถึงสามารถมองเห็นได้ จุดสีน้ำเงิน
ในการวิเคราะห์ เป็นการสมมุติ จำลอง เพื่อบอกว่าปล่อยวัตถุมาจากจุดใดหนึ่ง สร้างเป็นเส้นออกมา จุดสิ้นสุดเป็นจุดที่ต่ำสุดที่วัตถุจะกลิ้งตกลงมา ถ้าปล่อยวัตถุจะมีทิศทางการกลิ้งการตกของวัตถุสมมุติหรือสร้างโมเดลขึ้นมา จำลองเพื่อบอกว่าปล่อยวัตถุลงมามันจะกลิ้งลงไปทิศทางไหน เป็นเส้นทางการกลิ้งออกมา
โดยไปเอาคำสั่ง Create Steepest Path ออกมา
จากนั้น คลิกจุดที่ต้องการทราบทิศทางการไหลแล้ว Zoom เข้าไปก็จะเห็นทิศทางการไหล
จากนั้นลบข้อมูลออกไปให้หมดคำสั่งต่อไปแสดงภาพตัดขวาง ใช้ในการสร้าง Profile ประโยชน์เป็นแสดงการศึกษาในพื้นที่โดยไม่ต้องลงไปบนพื้นที่ สร้างมาจากข้อมูลความสูง ประโยชน์การสร้าง Profile วิธีการสร้างแนวเส้นขึ้นมา คลิกตามแนวที่จะสร้าง Profile พื้นที่มีความสูงต่ำเท่าไหร่ อันดับแรกสร้างเส้นประกอบ ไปคลิกที่คำสั่ง Interpolate Line สร้างแนวเส้นขึ้นมาก่อน
จากนั้นเอามาคลิกที่จุดเริ่มต้นแล้วลากตามที่จะสร้าง Profile แล้วดับเบิ้ลคลิกที่จุดสุดท้าย
จากนั้นไปกล่องเครื่องมือ Create profile graph เมื่อคลิกออกมา กราฟที่ได้จะแสดงความสูงต่ำของพื้นที่
เปลี่ยนสีเส้นไปที่ Propertiesเลือก Symbol และเปลี่ยนสีได้ตามชอบ
วิเคราะห์ความลาดชัน หาค่า Slope
ในการวิเคราะห์มี 2 รูปแบบ มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นและเป็นองศาโดยวิธีการคำนวณแตกต่างกัน
เริ่มโดยการเอาคำสั่ง Slope ออกมา
จากนั้น Set ค่า Input เป็น idw2ช่อง OutputRaster ไปที่ Folder ที่เราสร้างไว้และตั้งงชื่อ Slope แล้วกด Save Output ให้เป็น กำหนด Degree ก่อน จากนั้นกด OK
ก็จะได้ค่า Slop เป็นองศา ค่าความลาดชันของพื้นที่ เมื่อดูจากภาพ สีเขียวมีความลาดชันน้อย แดง ๆ ลาดชันมากประมาณ 36 องศา
ไปที่ ArcToolbox >> 3D Analyst Tools >> Raster Surface >> Slopeช่อง Input raster ให้เลือก idw ช่อง Output ไปที่ Folder ที่เราสร้างไว้และตั้งชื่อ Slope_Per แล้วกด Save ส่วนช่อง Output measurement ให้เลือก PERCENT_RISE กด OK
ก็จะได้ค่า Slope เป็นเปอร์เซน
วิเคราะห์ทิศทางการหันเหของความลาดชัน Aspect
เป็นตัวกำหนด คำนวณออกมาเป็นองศา แต่ละองศาพิกเซลนั้นๆมีความลาดชันเท่าไหร่ เริ่มจาก 0-360 องศาตามเข็มนาฬิกา แต่ละสีบ่งบอกทิศ ทิศแต่ทิศเริ่มจาก เป็นช่วง 0-22.25 ค่าAspect พื้นที่ราบเป็น –1 แสงตกกระทบลงมาไม่มีทิศทางการหันเห บ่งบอกทิศทางการรับแสง ใช้ในการสร้างแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชได้ ชันน้อย แสงน้อย เหมาะกับพืชบางชนิด
เอาคำสั่ง Aspect ขึ้นมา
ช่อง input raster ใช้ข้อมูล idw2 ช่อง Output raster ไปที่ Folder ที่เราสร้างไว้และตั้งงชื่อ Aspect >> Save จากนั้นกด OK
ผลลัพธ์ Aspect วัดตามเข็มนาฬิกาจาก 0-360 องศา ค่าของทุกเซลล์จะบ่งบอกทิศทางการหันเหของความลาดชัน พื้นที่ราบจะมีค่าเป็น -1 เสมอ
การวิเคราะห์การตกกระทบของแสง (Hillshade)
คำนวณได้ว่า Pixel นั้นๆ มีระยะเวลาว่าตกกระทบเท่าไหร่ค่าจะบ่งบอกความมืด และความสว่างนั้นๆ สีที่แสดงเริ่มจากขาวไปดำ ขาวมากแสงเยอะถ้าเข้มดำ ๆ Pixel นั้นจะรับแสงน้อย โดยมุมที่ต้องกำหนดคือมุม Azimuth Pixel นั้น ๆ มีการตกกระทบของแสงเท่าไร บ่งบอกความมืด ความสว่างของ Pixel นั้น ๆ มุม Azimuth วัดจากทิศเหนือจนถึง 360 องศา ในตัวโปรแกรมกำหนดที่มุม 315 องศา มุมตะวันตกเฉียงเหนือ คือค่าอัตโนมัติ แต่สามารถปรับได้ ตามเข็มนาฬิกา Altitude วัดแนวราบขึ้นไป 90 องศา
เอาคำสั่ง Hillshade ออกมา
ผลลัพธ์การวิเคราะห์การตกกระทบของแสง ค่าของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 ซึ่งแทนด้วยระดับสีเทา จากสีดำจนถึงสีขาวตามลำดับ
การวิเคราะห์พื้นที่การมองเห็น (Viewshed)
สร้างจุดขึ้นมาโดยการ ดิจิไทต์ 1 จุด โดยการไปที่ Catalog สร้าง ShapeFile ที่ Folder ที่สร้างไว้
ทำการเซตค่าดังภาพ
แล้วกด OK >> OK จากนั้นไป Start Edit
แล้วเลือก Point >> OK
แล้วทำการดิจิไตร์จุดขึ้นมา 1 จุด
จากนั้นไปที่ ArcToolbox >> 3D Analyst Tools >> Raster Surface >> Viewshed
ช่อง Input raster ให้เลือก idw2 ช่อง Input point ให้เลือก Point ที่ได้สร้างขึ้นมา ช่อง Output ไปที่ Folder ที่เราสร้างไว้และตั้งชื่อ Viewshed กด Save จากนั้น กด OK
การประมาณปริมาตรในการขุดและถมที่ Cut and Fill
มีข้อมูล 2 ข้อมูล เพื่อมาเปรียบเทียบกัน คำนวณปริมาตรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อยากรู้กระแสน้ำพัดพาดินออกไปมากน้อยแค่ไหน หรือดินที่อื่นมาทับถมเท่าไหร่ เอาเวลามา 2 ช่วงเวลา ก่อนน้ำท่วมหรือหลังน้ำท่วม สิ่งที่หายไป Net loss ที่ถูกเพิ่มเข้ามา Net gain
เอาคำสั่ง Cut Fill ออกมา ไปที่ Folder Prachinburi >> Cut Field เปิดข้อมูล DEM_BEFORE.tif เเละ DEM_AFTER.tif
ไปที่ ArcToolbox >> 3D Analyst Tools >> Raster Surface >> Cut Fill
ช่อง Input Before ให่ใส่ข้อมูลก่อนหน้า ช่อง Input After ให้ใส่ข้อมูลที่เปลี่ยนเเปลงไป ช่อง Output ไปที่ Folder ที่เราสร้างไว้และตั้งชื่อ กด Save จากนั้น กด OK
ผลลัพธ์การประมาณปริมาตรในการขุดและถมที่ บริเวณที่เป็นสีแดง เป็นบริเวณที่สูญเสียไป หรือถูกขุดออกไป สีเทา เป็นบริเวณที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง สีน้ำเงิน เป็นบริเวณที่เพิ่มขึ้นมา หรือเกิดการถับถม

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น